Day 2 First Python Program

Day 2 First Python Program

·

2 min read

หลังจากทุกคน Setup Python Interpreter (Anaconda) เรียบร้อยแล้ว ให้เปิด Jupyter Notebook ขึ้นมา มองหาปุ่ม

New -> เลือก Python3 หรือ Python

ท่านจะได้หน้าจอเปล่าๆ ขึ้นมา ข้างบนสุดจะเห็นคำว่า

"Untitled" ท่านสามารถคลิ๊กไปหนึ่งทีตั้งชื่อว่า "My First Python Program" หรืออะไรก็ได้นะครับ แต่ขอเป็นภาษาอังกฤษ

จากนั้นให้ท่านพิมพ์โค้ดลงไปในช่องว่างตรงหน้าจอดังนี้

print("Hello World!")

จากนั้นกดปุ่ม Shift+Enter ท่านจะพบว่าคอมพิวเตอร์ได้พิมพ์คำว่า Hello World! ออกมาทางหน้าจอ

นี่คือโปรแกรมแรกของท่าน ในการเขียนโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์แสดงค่าออกมาทางหน้าจอ ให้ลองใส่คำอื่นๆ ลงไปใน print อีก เช่น

print("Hello Your Name!!!!")

มีหลายๆ อย่างเกิดขึ้นในการพิมพ์คำสั่งเดียวนี้ลงไป Python มันจะเอาโค้ดไปแปลผ่าน Interpreter ที่เราได้ลงไว้ก่อนหน้า แล้วแสดงค่า (ตัวหนังสือ) ออกมาผ่านหน้าจอโดยใช้คำสั่ง print(xxx) นั่นเอง

ท่านจะเห็นว่าอยากจะแสดงค่าอะไรก็มาตรงหน้าจอก็เพียงแค่ใช้คำสั่ง print(xxx) ง่ายมาก กับโปรแกรมแรก จะสังเกตุว่าเราใส่ตัวหนังสือไว้ระหว่าง " " เครื่องหมายคำพูด อันนี้จำเป็นต้องใส่นะครับ ถ้าเราจะแสดงตัวหนังสือออกทางหน้าจอ

print('this is a text')

ท่านสามารถใช้ ' ' เครื่องหมายคำพูดอันเดียวแบบนี้ก็ได้ ให้ผลเหมือนกันครับ ถ้าไม่ใส่ ' หรือ " Python Intepreter มันจะฟ้อง error เองคับ (มันด่าว่าไม่เข้าใจ :D)

ลองดูก็ได้คับจะเห็น error ขึ้นตรงหน้าจอ จากนั้นเราต้องหาให้ได้ว่าผิดตรงไหน แก้แล้วจะรันใหม่ก็กด Shift+Enter เพียงเท่านี้คับ

ชีวิตโปรแกรมเมอร์ อย่างแรกคือเขียนโปรแกรมสั่งการลงไปในคอมพ์ จากนั้นลองสั่งให้รันดู ถ้าไม่มี error ก็ดีไป ถ้ามีก็ต้องแก้ให้ถูกจนกว่ามันจะรับสำเร็จ วนไปแบบนี้คับ

ช่วงแรกๆ ท่านอาจจะมี error เยอะหน่อย เพราะหลายๆ อย่าง หลายๆ คำสั่งต้องจำ และอาศัยความคุ้นเคย เมื่อเจอบ่อยๆเข้าก็จะจำได้เอง เขียนโค้ดได้คล่องขึ้นครับ

ตัวแปร Variable

เราสามารถเก็บค่าต่างๆ เอาไว้ในในตัวแปร (Variable) ได้ครับ ซึ่งตัว Python Interpreter มันจะเอาไปเก็บไว้ใน memory ของเครื่องอัตโนมัติ เราไม่ต้องสน เราเพียงแค่อยากเก็บค่าบางอย่างเอาไว้ นึกถึงตัวแปรว่ามันเป็นกล่องใส่ของ (ของในที่นี้คือค่าต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ตัวหนังสือ ฯลฯ)

my_variable = "this is a text"
print(my_variable)

เราจะเห็นว่าผมตั้งชื่อตัวแปร my_variable จริงๆ จะตั้งเป็นอะไรก็ได้คับ แต่มีข้อต้องห้ามบางอย่างเดี๋ยวผมจะบอกในช่วงถัดไป เราเก็บค่า "this is a text" เอาไว้ในตัวแปรนี้ (กล่อง) จากนั้นเราสามารถใช้คำสั่ง print(xxx) แล้วยัด my_variable ไปใน ( ) เพื่อแสดงตัวหนังสือออกมาตรงหน้าจอ

ท่านสามารถลองสร้างตัวแปรอื่นๆ แล้วแสดงผลออกมาทางหน้าจอดูคับ

my_salary = 100000
print(my_salary)

ตัวแปร(กล่อง) นอกจากเอาไว้เก็บตัวหนังสือแล้วยังเก็บตัวเลขได้ด้วย ทั้งเลขและทศนิยม จะสังเกตุว่าผมไม่ได้ใส่ " " หรือ ' ' ระหว่างตัวเลข (ต้องจำนำคับ) เราก็จับตัวแปรยัดเข้า print(xxx) ได้เลย มันจะแสดงค่าออกมาตรงหน้าจอ

คอมเม้นต์ Comment

เราสามารถเขียนคำอธิบายโค้ดเราลงไปได้ โดย Python จะไม่สนใจคำสั่งนั้น ด้วยการใส่ # หน้าบรรทัดนั้น เช่น

my_salary = 100000

# the lines starts with # Python will ignore
# my_salary = 0

print(my_salary)

โค้ดนี้มันจะแสดงผล 100000 ไม่ได้แสดง 0 เพราะว่าโค้ดเหล่านั้นมี # อยู่ด้านหน้า Python Intepreter มันจะไม่สนใจ แล้วมีไว้ทำไม? มีไว้ให้โปรแกรมเมอร์อย่างเราจะไว้เขียนโน๊ตเกี่ยวกับโค้ด เพราะตอนเขียนไม่ลืม หลังจากทิ้งโค้ดไปแล้วหลายวัน หรือเป็นเดือน ความทรงจำจะมีเลือนลาง ได้อ่านคอมเม้นต์บนโค้ดก็จะช่วยให้จำได้ว่าเราเขียนโค้ดให้มันทำอะไรไป

โปรแกรมเมอร์หลายคนมักจะขี้เกียจเขียนคอมเม้นต์ แต่ผมต้องบอกว่ามันจะมีประโยชน์กับตัวเอง และทีมมากๆ ในอนาคตครับ

เอาเป็นว่าวันนี้ท่านเข้าใจถึงการตั้งตัวแปล และแสดงผลออกมาตรงหน้าจอ ทั้งตัวเลข และตัวหนังสือนะคับ